
อาการเขียวโดยมีริมฝีปากม่วงคล้ำ มีนิ้วปุ้มคล้ายไม่ตีกลอง เป็นผลมาจากมีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจตั้งแต่กำเนิดทำให้เลือดดำผสมปนกับเลือดแดง
ภาวะเขียวและมีเลือดไปปอดน้อย อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ได้
1. อาการเขียวมาก และตัวอ่อนปวกเปียกไป (cyanotic spell)
2. มีเลือดข้นมาก ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นและเลือดหนึดมากขึ้นโดยอาจเกิดก้อนลิ่มเลือดในหลอดเลือดได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง
3. เกิดฝีในสมองได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป
ภาวะ cyanotic spell
สามารถป้องกันได้โดยท่านควรพาบุตรหลานมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ ท่านควรดูแลบุตรหลานของท่านดังนี้
1. ในช่วงที่มีไข้ ไม่สบาย ถ่ายเหลว ให้ระวังภาวะขาดน้ำควรให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้มีปัสสาวะใสพอสมควรและ รีบพาไปพบแพทย์
2. ถ้าหากมีอาการเขียวมากขึ้น หายใจหอบลึกมากขึ้น ซึมเพลีย ตัวอ่อนปวกเปียกไป (มักเป็นหลังตื่นนอนตอนเช้า หลังเล่นหรือร้องมาก ๆ) ให้ปฏิบัติดังนี้
2.1 ปลอบเด็กให้หยุดร้อง ควรรีบทำให้เร็วที่สุดไม่ควรปล่อยให้เป็นอยู่นานเพราะจะดูแลลำบาก และอาจจะเป็นอันตรายรุนแรงได้
2.2 ให้งอเข่าเด็กทั้ง 2 ข้าง เข้าชิดหน้าอก อาจจะอุ้มขึ้นแนบอกกรณีเป็นเด็กเล็ก ถ้าเป็นเด็กโตให้นอนตะแคงเข่าชิดหน้าอกให้มากที่สุด ถ้าได้ผลผู้ป่วยจะหายใจดีขึ้นริมฝีปากเริ่มกลับมาเป็นเหมือนปกติก่อนเกิดอาการ ถ้าหากทำวิธีดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลใกล้บ้านที่สุด เพื่อให้ออกซิเจนและยา โดยอุ้มในท่าดังกล่าว
3. รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง ไม่มีของแสลง เด็กสามารถเติบโตได้พอสมควร ถ้าได้อาหารที่ ครบทุกหมู่ เนื้อ นม ไข่ โดยเน้นอาหารพวกไขมันให้ใช้น้ำมันพืชในการทอด ผัด แทนการต้มหรือลวก
4. รับประทานยาที่แพทย์ให้ ไม่ควรซื้อยาใด ๆ มาให้กินเอง เพราะอาจจะเป็นอันตราย
5. ฟันเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กโรคหัวใจชนิดเขียว ชั้นเคลือบจะไม่แข็งแรง ควรต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสฟันผุง่ายกว่าเด็กทั่วไปมาก ควรดูแลฟันตั้งแต่ผู้ป่วยอายุยังน้อย ๆ โดยเริ่มจากการเช็ดเหงือกก่อนนอนเพื่อให้เด็กชินกับการทำความสะอาดฟัน จากนั้นจึงให้แปรงฟันและนำ
ผู้ป่วยไปตรวจฟันกับทันตแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ฟันที่ผุจะเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่มากและ อาจเป็นแหล่งกระจายเชื้อให้ผู้ป่วยเกิดฝีในสมองหรือติดเชื้อในหัวใจได้
6. ให้ดูแลบุตรหลานของท่านโดยระวังอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้
1. มีอาการเขียวมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น และตัวอ่อนปวกเปียกบ่อยครั้งขึ้น
2. ไข้นานหลายวันติดต่อกัน ซึมลง ร้องปวดหัวอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ
3. ขยับแขนขาได้ลดน้อยลง หรือมีชักเกร็งกระตุก
7. ความผิดปกติที่หัวใจนั้นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมในเวลาต่อมา แพทย์จะเป็นผู้บอกอีกครั้งว่าสามารถให้ความชวยเหลือบุตรหลานของท่านด้วยวิธีใด ถ้าหากต้องผ่าตัดจะบอกเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
8. รับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
8. รับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
9. บุตรคนต่อไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมากขึ้น คุณแม่ควรมาฝากครรภ์แต่ เนิ่นๆ และเด็กในครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์