ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จุล ทิสยากร
    การได้เห็นเด็กอายุ 6 ปี หนัก 45 กิโลกรัม การที่ได้เคยเห็นเด็กอายุ 14 ปี หนัก 187 กิโลกรัม และการได้อ่านพบในวารสารทางการแพทย์ที่กล่าวถึงเด็กอายุ 13 ปี หนักมากกว่า 200กิโลกรัม
ร่วมกับการที่เคยเห็นผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดในขณะที่มีอายุเพียง 29 ปีเท่านั้น
ทำให้ผู้เขียน ต้องเขียนบทความคล้ายกับบทความที่เคยเขียนมาแล้วทั้งนี้ก็เพื่อย้ำถึงความสำคัญ
ของโรคหัวใจขาดเลือดใน ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นนักฆ่าหมายเลขหนึ่ง ในปัจจุบันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจทุก 35 วินาทีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะด้าน
อาหารการกินเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่ถ้าไม่มีการเริ่มต้น จะไม่มีโอกาสเปลี่ยนได้เลยต้องถือ ว่าเป็นความโชคดีของเด็กอเมริกันในบางรัฐที่โรงเรียนบางแห่งเริ่มให้ความ  สำคัญในการ เปลี่ยนแปลงอาหารที่ให้นักเรียนรับประทาน โดยแทนที่จะให้อาหารพวกแฮมเบอร์ เกอร์ และฮ็อทดอก ปัจจุบันทางโรงเรียนจะให้เป็นปลา ขนมปังโฮลวีท ผัก และผลไม้ดื่มน้ำ ผลไม้หรือน้ำเปล่า  (แทนน้ำหวานในสมัยก่อน) แต่เด็กในประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ใน เมืองใหญ่ๆ ปัจจุบันจะรับประทาน อาหารพวกฟาสท์ฟูดร่วมกับการดื่มน้ำหวานจำนวนมากใน
แต่่ละวัน ทำให้เด็กเหล่านี้รับประทานปริมาณไขมัน เกลือ และน้ำตาล ในปริมาณที่มากเกินพอ จนเกิดปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วนซึ่งจะนำมาซึ่งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ขาดเลือดก่อนวัยอันควร
    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจเป็นตัวแปรสำคัญของโอกาสการเกิดโรคหัวใจในคนๆ นั้น ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงได้ รักษาได้ หรือดัดแปลงได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ก็เป็นสิ่งที่ทำอะไร ไม่ได้เลยในปัจจุบัน เช่น ปัจจัยเกี่ยวกับด้านกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
ได้แก่
        1.ความดันโลหิตสูง
        2.ระดับโคเลสเตอโรลสูงในเลือด
        3.การสูบบุหรี่
        4.โรคอ้วน
        5.ขาดการออกกำลังกาย        

    การควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่างจริงจังตั้งแต่เด็กยังอายุน้อยอยู่จะลดโอกาสของการเกิด โรคหัวใจขาดเลือดเมื่อเด็กอายุมากขึ้นเป็นผู้ใหญ่
    1.ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงในเด็กส่วนใหญ่จะมีสาเหตุที่ตรวจพบได้ เช่น จาก โรคไต โรคหลอดเลือดบางชนิด โรคทางต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ความดันโลหิตสูงในเด็กส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อย อาจจะเป็นกรรมพันธุ์ หรือรับประทานเกลือในปริมาณมากเป็นเวลานาน แต่บางครั้งเด็กอาจเป็น
ความดันโลหิต สูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
    2.ระดับโคเลสเตอโรลสูงในเลือด ในเด็กภาวะความผิดปกตินี้พบได้ไม่มากเท่าในผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามตะกอนไขมันที่ไปเกาะอยู่ที่ผนังด้านในของหลอดเลือดเริ่มต้นสะสมตั้งแต่ในวัยเด็ก
และปริมาณตะกอนไขมันที่เกาะนี้จะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระดับโคเลสเตอโรล
สูงในเด็ก การเพิ่มนี้ จะเร็วขึ้นจนเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ได้จากโรคหัวใจขาดเลือด โคเลสเตอโรลจะเดินทางในกระแสเลือด โดยเกาะไปกับไลโปโปรตีน
(lipoprotein)ไขมัน ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่
            2.1 Low-density lipoprotein (LDL) เป็นโคเลสเตอโรลชนิด “เลว” โดยที่ถ้าระดับ LDL ในเลือดสูงกว่าปกติก็จะเพิ่มโอกาสของตะกอนไขมัน ไปเกาะที่ผนังด้านในของหลอดเลือดจนทำให้เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
            2.2 High-density lipoprotein (HDL) เป็นโคเลสเตอโรลที่ “ดี” คือเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเป็นตัวช่วยขนโคเลสเตอโรลจากเซลล์ร่างกาย กลับไปที่ตับ ระดับ HDL ที่สูงจึงเป็นประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย และโรคอ้วน จะทำให้ระดับ HDL ลดต่ำลง
            2.3 Triglycerides เป็นไขมันที่ให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อ การรับประทานไขมันชนิดอิ่มตัว หรืออาหาร จำพวกแป้งในปริมาณมากเป็นเวลานาน จะเพิ่มระดับ triglyceride ในเลือดซึ่งอาจจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ อะไรเป็นสาเหตุของระดับโคเลสเตอโรคสูงในเด็ก? เด็กบางคนอาจมีระดับโคเลสเตอโรลสูงจาก กรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้ระดับโคเลสเตอโรลสูง ได้แก่ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่ เพราะฉะนั้น การลดโอกาสของโคเลสเตอโรล ไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดจึงทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทาน อาหารที่มี โคเลสเตอโรลและไขมันต่ำ ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก รักษาความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
    3.การสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นยาเสพติดให้โทษที่ถูกกฎหมายที่เมื่อติดโทษโดยรวมต่อจำนวนประชากร ที่ได้รับผลเสียทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแล้ว บุหรี่เป็นยาเสพติดที่ให้โทษต่อมนุษย์มากที่สุด ถ้าเทียบ กับยาเสพติดตัวอื่นๆซึ่งแม้จะมีฤทธิ์รุนแรงกว่าบุหรี่แต่จำนวนคนที่ติดยาเหล่านี้น้อยมากเมื่อเทียบกับ
บุหรี่ บุหรี่มีโทษต่อผู้สูบเองและผู้ที่อยู่ ใกล้เคียงซึ่งบังเอิญต้องสูดเอาควันบุหรี่เข้าปอดไปด้วย ซึ่ง บางทีเรียกคนเหล่านี้ว่าเป็น “คนสูบบุหรี่มือสอง” สารพิษ ในควันบุหรี่นอกจากทำให้เสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งปอดแล้ว ฤทธิ์ต่อผนังหลอดเลือดทั่วร่างกายทำให้บุคคลที่สูดควันบุหรี่ เข้าไปเสี่ยงต่อการ เป็นโรคต่างๆมากมายรวมทั้งโรคหัวใจขาดเลือด เพราะฉะนั้นการป้องกันเด็กไม่ให้สูบบุหรี่ที่ได้ผลคือ ผู้ใหญ่ในครอบครัวจะต้องไม่สูบบุหรี่ ย้ำถึงโทษของบุหรี่ให้เด็กเข้าใจ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ตัวครู เองก็ต้องไม่สูบบุหรี่ ออกกฎหมายและลงโทษผู้สูบบุหรี่ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจนเป็นการทำร้ายคน รอบข้างจากควันบุหรี่
    4.โรคอ้วน โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด ในปัจจุบัน เด็กในโรงเรียน เอกชนในกรุงเทพฯ ประมาณหนึ่งในสามถึงหนึ่งในสี่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน และ ในอนาคตโรคอ้วน จะเป็นสาเหตุ ใหญ่ของการเสียชีวิต เป็นรองก็แต่การเสียชีวิตจากผลของการสูบ บุหรี่  แม้ว่าโรคอ้วน อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือโรค   บางชนิด   ในปัจจุบันสาเหตุใหญ่ของโรคอ้วนเกิดจากการ รับประทาน อาหารหรือจำนวนแคลอรี่ (รายรับ)มากเกินกว่า การเผาผลาญแคลอรี่ จาก กิจกรรม ประจำวัน (รายจ่าย) การคำนวณน้ำหนักตัวที่เหมาะสมอาศัยการคำนวณ body mass index (BMI) ซึ่งได้จากสูตร BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม /ความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เมื่อได้ค่า BMI แล้ว นำมาเทียบกับเกณฑ์
                            BMI                     เกณฑ์      
                            น้อยกว่า 18.5        ผอมเกินไป
                            18.5-24.9             ปกติ        
                            25.0-29.9             น้ำหนักเกิน
                            มากกว่า 30.0         อ้วน         
       ถ้าคำนวณค่า BMI แล้วบ่งบอกว่าเป็นโรคอ้วน พ่อแม่เด็กควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อตรวจ ให้แน่ใจว่าเด็กไม่ได้อ้วนจากโรคบางอย่าง แต่อ้วนจากพฤติกรรมการรับประทาน อาหารและขาดการ ออกกำลังกาย และขอคำแนะนำจากแพทย์ในการลดน้ำหนัก
    5.การออกกำลังกาย การขาดการออกกำลังกายนอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงของโรคหัวใจ ขาดเลือดแล้ว ยังเป็นตัวเพิ่มโอกาสของการเกิดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของการเกิดโรคหัวใจ อันได้แก่ โรคอ้วน ระดับโคเลส เตอโรลสูง และความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ ร่างกายแข็งแรง  กระดูกแข็งแรง  ควบคุมน้ำหนัก  ควบคุมความดันโลหิต  และเพิ่มระดับ  HDL ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวตั้งแต่เด็กจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในระยะยาวคือ เด็กจะเจริญ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงและลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ ขาดเลือด  ซึ่งเป็นสาเหตุตายอันดับหนึ่งในประเทศที่พัฒนา