บทความทางวิชาการ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์จุล ทิสยากร
จากจดหมายข่าว ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2547
การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่วัยเด็ก
โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเป็นสาเหตุหมายเลขที่หนึ่งของการเสียชีวิตในประเทศที่พัฒนาแล้ว และจำนวนประชากรในประเทศไทยที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ก็กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้นอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว อายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็น้อยลงด้วย เมื่อเทียบกับสมัยก่อน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเนื่องจากการเลียนแบบพฤติกรรมของประชากรทางซีกโลกตะวันตก ทำให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนทำให้ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้อาจเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งถ้ามีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมแล้ว โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันก็อาจจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น ตั้งแต่อายุยังน้อย และการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจนทำให้มีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่ นอกจากกรรมพันธุ์แล้ว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีหลายอย่าง เช่น ความอ้วน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมัน (คอเลสเตอรอล) สูงในเลือด เบาหวาน การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย
เนื่องจากโรคหลอดเลือดแดงอุดตันจากตะกอนไขมัน ในความเป็นจริงเริ่มก่อตัวตั้งแต่ผู้ป่วยอยู่ใน วันเด็ก การป้องกันการเกิดโรคนี้จึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยเด็ก โดย
1. การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปในเด็ก (ตารางที่ 1)
2. หาเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ตารางที่ 2)
3. ลดปัจจัยเสี่ยงในเด็กที่ทราบปัจจัยเสี่ยงแล้ว (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปในเด็ก
จุดมุ่งหมายเพื่อสุขภาพ | คำแนะนำ |
1. อาหาร | |
Yการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ Yให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม Yให้ระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ Yให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ | Yแพทย์แนะนำชนิดและปริมารอาหารที่ควรรับประทาน เพื่อให้ได้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม Yถ้าเด็กอายุยังน้อยกว่า 2 ปี ไม่แนะนำการจำกัดไขมันในอาหาร ถ้าเด็กอายุมากกว่า 2 ปีแล้วให้รับประทานไขมันอิ่มตัวได้น้อยกว่า 10% ของแคลอรี่ต่อวัน และคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 300 มก. ต่อวัน |
2. การสูบบุหรี่ | |
Yไม่ริเริ่มการสูบบุหรี่ Yไม่เป็นผู้สูบบุหรี่ “มือสอง” Yผู้ที่สูบอยู่แล้วให้พยายามเลิกให้ได้ | Yแพทย์หมั่นถามเรื่องการสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กอายุ 10 ปี Yย้ำถึงโทษของบุหรี่และย้ำถึงการอย่าริเริ่มการสูบ Yแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเป็นผู้สูบบุหรี่ “มือสอง” ในทุก ๆ สถานที่ |
3. การออกกำลังกาย | |
Y พยายามลดเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว เช่นดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่นวิดีโอเกม หรือคุยทางโทรศัพท์ เป็นเวลานาน | Yแนะนำให้เด็กออกกำลังทุกวัน (ประมาณวันละ 60 นาที) Yจำกัดเวลาที่ใช้ไปกับการกระทำที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว เช่น จำกัดการดูโทรทัศน์ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมง ต่อวัน |
ตารางที่ 2 หาเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
การประเมิน | ข้อแนะนำ |
2. การประเมินทั่วไป | |
Yประวัติครอบครัวเกี่ยวกับความอ้วน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันสูงในเลือด เบาหวาน สูบบุหรี่ โรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี ในเพศชาย 55 ปี ในเพศชาย และก่อนอายุ 65 ปีในเพศหญิง Yตรวจส่วนสูงและน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ Yวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ตรวจเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปี Yประเมินเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย Yสอบถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี | |
3. การประเมินจำเพาะ | |
Yระดับไขมันในเลือดผิดปกติหรือไม่ Yความดันโลหิตสูงผิดปกติหรือไม่ Yส่วนสูงและน้ำหนักผิดปกติหรือไม่ | Yเริ่มตรวจหาความผิดปกติในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี หรือในครอบครัวมีคนเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยหรือระดับไขมันในเลือดผิดปกติ Yจำกัดเวลาที่ใช้ไปกับการกระทำที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวเช่น จำกัดการดูโทรทัศน์ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน |
ตารางที่ 3 ลดปัจจัยเสี่ยงในเด็กที่ทราบปัจจัยเสี่ยงแล้ว
การลดปัจจัยเสี่ยง | ข้อแนะนำ |
ระดับคอเลสเตอรอล | |
เป้าหมาย YLDL-C (Low-Density Lipoprotein Cholesterol) น้อยกว่า 160 มก./ดล YLDL-C น้อยกว่า 100 มก./ดล ถ้าเป็นเบาหวาน | Yรับประทานคอเลสเตอรอล น้อยกว่าวันละ 200 มก. Yเพิ่มอาหารที่มีใย (fiber) ซึ่งจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้บ้าง Yถ้าปฏิบัติดังข้างบนแล้วระดับ LDL-C ยังสูงอยู่ อาจจะต้องหาว่าเด็กมีโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุLDL-C สูงหรือไม่ Yถ้าจำเป็นจริง ๆ อาจต้องใช้ยาลดไขมันช่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5hk LDL-C มากกว่า 190 มก./.ดล. (ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยอาจใช้ยา ถ้า LDL-C มากกว่า 160 มก./.ดล.) |
ระดับไขมันตัวอื่น ๆ | |
เป้าหมาย YTG (Triglyceride) น้อยกว่า 150 มก./ดล. YHDL-C (High-Density Lipoprotein Cholesterol) มากกว่า 35 มก./ดล. | Yลดน้ำหนักตัว Yลดการรับประทานน้ำตาล Yหาโรคที่อาจทำให้ระดับ TG สูง ถ้าระดับ TG ไม่ลดลง Yในเด็กไม่แนะนำการใช้ยาลดระดับ TG ยกเว้น ถ้า TG มากกว่า 400 มก./ดล. |
การรักษาความดันโลหิตสูง | |
เป้าหมาย Yให้ค่าความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติ | Yควบคุมน้ำหนักตัว Yลดปริมาณเกลือ (น้ำปลา) ในอาหาร Yหาโรคที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูง Yใช้ยาลดความดันโลหิต ถ้าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล |
การควบคุมน้ำหนัก | |
เป้าหมาย Yให้ BMI (Body Mass Index) อยู่ในเกณฑ์ปกติ | Yควบคุมอาหารและออกกำลังกาย Yควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกทั้งครอบครัว |
รักษาเบาหวาน | |
เป้าหมาย Yให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงค่าปกติ | Yควบคุมน้ำหนักตัวโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย Yรักษาความดันโลหิตสูง และระดับไขมันผิดปกติ ถ้ามีร่วมด้วย |
หยุดสูบบุหรี่ | |
เป้าหมาย Yสมาชิกทุกคนในครอบครัวเลิกสูบบุหรี่ | Yให้ผู้สูบบุหรี่ทุกคนเลิกบุหรี่ ถ้าจำเป็นให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |