- รายละเอียด
- ฮิต: 8209
เมื่อเด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดเติบโตเป็นผู้ใหญ่
บทความจากหนังสือโครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจ“20,000 บาท ต่อ 1 ชีวิตเด็ก” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มกราคม 2548 – มิถุนายน 2549 หน้า 241
ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา การพัฒนาในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการใช้ยาและการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านไปยังมีการพัฒนาการแก้ไขความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดบางชนิดโดยอาศัยเครื่องมือทางสายสวน ซึ่งเป็นการรักษาความผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัดและผู้ป่วยไม่ต้องดมยาสลบ ด้วยการรักษาที่ทันสมัยในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่มีโอกาสเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์ ประมาณร้อยละ 85 จะอยู่รอดไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น ด้วยตัวเลขอัตราเกิดในปัจจุบันและอัตราการเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด 8 ต่อ 1,000 รายของเด็กเกิดใหม่ ในแต่ละปีจะมีเด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่จะเจริญเติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ประมาณ 6,000 กว่าคน โรคหัวใจแต่กำเนิดพอจะจัดแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ
1. ชนิดเป็นเล็กน้อย (ประมาณร้อยละ 20) ตัวอย่างเช่น ลิ้นพัลโมนารีตีบเล็กน้อย มีรูรั่วขนาดเล็กที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง
2. ชนิดที่มีความสำคัญ (ประมาณร้อยละ 60) ตัวอย่างเช่น มีรูรั่วขนาดใหญ่ที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ฟาโดลห์เต็ตตราโลยี
3. ชนิดยุ่งยากซับซ้อน (ประมาณร้อยละ 30) มีความผิดปกติอย่างมาก และความผิดปกติมักจะมีหลายอย่างร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว
สำหรับกลุ่มเด็กที่เป็นชนิดเล็กน้อย โดยมากจะไม่มีผลต่อสุขภาพ ยกเว้นส่วนใหญ่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ก่อนการถอนฟัน การผ่าตัดในช่องปากหรือการผ่าตัดอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้มีเชื้อโรคเล็ดรอดเข้าไปในกระแสเลือดสำหรับกลุ่มที่มีความสำคัญ ได้แก่ เด็กที่มีความผิดปกติมากพอที่จะมีผลต่อสุขภาพโดยตรง เช่น ทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการหัวใจล้มเหลว เป็นต้น เด็กกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ต้องการการรักษาโดยการให้ยา และ/หรือ การผ่าตัดหรือการรักษาทางสายสวน ทำให้ความผิดปกติต่างๆ มักจะหายไป ส่วนกลุ่มที่เด็กมีความผิดปกติชนิดยุ่งยากซับซ้อน ส่วนใหญ่ต้องการวิธีรักษาโดยการให้ยาร่วมกับการผ่าตัด การผ่าตัดในกลุ่มนี้มักจะเป็นการผ่าตัดที่ไม่สามารถทำให้ความผิดปกติหายไป แต่เป็นเพียงการผ่าตัดที่ประทังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงมักจะมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ค่อนข้างมาก และบางคนก็ยังอาจจะมีอาการอยู่ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องการการติดตามดูแลค่อนข้างใกล้ชิดในระยะยาว เพราะนอกจากความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดไม่ว่าจะได้รับการผ่าตัดหรือไม่ได้รับการผ่าตัดมาก่อน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังอาจมีความผิดปกติของระบบอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย ผลของความผิดปกติเหล่านี้ในระยะยาวย่อมจะมีผลกระทบต่อการเลี้ยงดูเด็ก และในที่สุดก็จะมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
- รายละเอียด
- ฮิต: 27719

- รายละเอียด
- ฮิต: 23100
ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์
- รายละเอียด
- ฮิต: 28701

โรคคาวาซากิคืออะไร ?
เป็นโรคที่เป็นผลมาจากการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิดทั้งแบคทีเรียและไวรัส โรคนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์คาวาซากิ ซึ่งเป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่น ที่ได้รวบรวมรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรกของโลก เมื่อหลายสิบปีก่อน