The Cardiac Children Foundation of Thailand
  • หน้าแรก
  • ความรู้โรคหัวใจในเด็ก
  • ออกหน่วยตรวจฯ
  • เชิญร่วมบริจาค
  • หน้าแรก
  • ประวัติความเป็นมา
  • ความรู้โรคหัวใจในเด็ก
  • โครงการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด
  • คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกหน่วยตรวจฯ
  • การอบรมการคัดกรองโรคหัวใจฯ
  • จดหมายขอบคุณของผู้ปกครองเด็ก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวการรับบริจาค
  • เชิญร่วมบริจาค
  • ดอกกุหลาบ เพื่อเด็กโรคหัวใจ
  • บัตรอวยพรปีใหม่

Supporting the Failing Heart

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2566
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 12516
ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์
ผศ.นพ.สมเกียรติ โสภณธรรมรักษ์

     ภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ในทุกอายุแม้แต่ทารกในครรภ์ เกิดขึ้นเมื่อหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดไม่สามารถทำงานได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย (metabolic demands) ภาวะดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีอาการของ pulmonary และ systemic venous congestion ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายพยายามปรับเปลี่ยน(adaptive mechanisms)เพื่อให้เกิดความสมดุล จนเกิดปฏิกิริยาเป็นลูกโซ่(set in motion and chain reaction)ที่ต่อเนื่องกันตามมา เช่น มีชีพจรที่เร็วขึ้น, เกิด vasoconstriction, หรือเกิด myocardial hypertrophy เป็นต้น  ภาวะหัวใจวายเป็นหนึ่งในภาวะฉุกเฉินทางระบบไหลเวียนเลือดในเด็กที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติประจำวัน ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัย และแก้ไขอย่างถูกต้องแล้ว ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความพิการ หรือแม้แต่เสียชีวิตในที่สุด บทความนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงสาเหตุ, พยาธิสรีระวิทยาของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับระบบไหลเวียนเลือด, การวินิจฉัย ตลอดจนถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจวายที่มีอยู่ในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม …

Chest pain in children and adolescents

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2566
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 15760
 
นาวาเอกอนันต์  โฆษิตเศรษฐ

พ.บ., ว.ว.(กุมารเวชศาสตร์), ว.ว.(กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ)
Certificate in Pediatric Cardiology, Mayo Clinic, Rochester, MN, USA
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยโรคหัวใจ
ภาควิชากุมาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อาการเจ็บหน้าอก (chest pain)ในเด็กและวัยรุ่นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่าพบได้ร้อยละ 0.25 -0.29 ในเด็กที่มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกหรือห้องฉุกเฉิน1,2   อายุที่พบบ่อยคือ ช่วงวัยรุ่น โดยอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11 ถึง 13 ปี1,3 โดยพบว่าอายุที่เริ่มมีอาการยิ่งน้อย จะยิ่งมีโอกาสพบความผิดปกติทางร่างกายมากกว่า ขณะที่สาเหตุส่วนใหญ่ในเด็กวัยรุ่นคือไม่ทราบสาเหตุหรือเกิดจากภาวะทางจิตใจ โดยทั่วไปนั้นอาการเจ็บหน้าอกในเด็กที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือดพบได้ไม่บ่อย มีการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด พบได้น้อยกว่า ร้อยละ 54  แต่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลใจต่อเด็กและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าอาการเจ็บหน้าอกนั้นเป็นอาการแสดงของโรคหัวใจ   ทำให้มีผลต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ การขาดโรงเรียนบ่อยๆ  ถูกจำกัดในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกาย เพราะการเจ็บหน้าอก5   บทความนี้จะได้พูดถึงการเจ็บหน้าอกในเด็กและวัยรุ่น ในแง่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งแนวทางในการประเมินเพื่อการวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค  โดยเฉพาะสาเหตุที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อจะได้สามารถแยกโรคได้จากภาวะหรือสาเหตุที่ไม่รุนแรง

 

อ่านเพิ่มเติม …

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2566
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 36937
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
รศ.พ.อ.หญิงสุรีย์พร คุณาไทย

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial Disease) พบในผู้ป่วยผู้ใหญ่มากกว่าพบในเด็ก เกิดจากมีพยาธิเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ และบางรายไม่ทราบสาเหตุ และอาจจะเกิดเป็นผลจากโรคของโครงสร้างส่วนอื่นๆ ของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือเกิดจาก การแพร่กระจายของโรคบางโรคไปทั่วร่างกาย (Systemic disease) ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่พยากรณ์โรค ค่อนข้างจะเลวหลังจากมีอาการและส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตเป็นส่วนมากหลังการรักษาภายใน 2 ปี ในต่างประเทศมีการพยากรณ์โรคดีกว่า เนื่องจากมีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Cardiac Transplantation) ซึ่งทำการรักษาได้ในบางแห่งเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม …

Rheumatic Fever

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 13 มีนาคม 2562
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 1271
manus.jpgนพ.มนัส ปะนะมณฑา

รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


         
            โรคไข้รูมาติกและโรคหัวใจรูมาติกเกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ ตามหลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปเอในลำคอ1-2 โรคไข้รูมาติกและโรคหัวใจรูมาติกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในกลุ่มประชากรเด็กและวัยรุ่นของประเทศที่กำลังพัฒนาโดยก่อให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตเมื่ออายุน้อยของประชากรเป็นผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมของบุคคลและของประเทศ 1 
            ปัจจุบันโรคไข้รูมาติก ยังพบได้บ่อยในหลาย ๆ ประเทศที่ กำลังพัฒนา1-8 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีประชากรรวมกันประมาณสองในสามของประชากรโลก3 ถึงแม้ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบโรคนี้ได้น้อย แต่ประชากรบางกลุ่มของประเทศเหล่านี้ก็ยังมีอุบัติการณ์ การเกิดโรคในอัตราที่สูง 2  ความรุนแรงของโรคไข้รูมาติกในประเทศที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันจะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่เคยเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในอดีตย้อนหลังไป ประมาณ 60 ปี 3

            ในประเทศที่มีความรุนแรงของโรคนี้น้อยลง และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคต่ำนั้น แพทย์และผู้วางนโยบายทางสาธารณสุขของประเทศเหล่านั้นมักจะเข้าใจว่าปัญหาของโรคนี้ไม่มีอีกแล้ว ตัวอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1970-1985 ที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคต่ำมาก จนแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงโรคแทรกซ้อนของการติดเชื้อ สเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปเอในลำคอ   แต่เมื่อมีการฟื้นคืนชีพของโรคนี้ขึ้นมาในหลายๆพื้นที่ของประเทศทางตะวันตกโดยพบผู้ป่วยมากกว่า 600 รายในเมือง Salt Lake รัฐ Utah ในระหว่างปี ค.ศ. 1985-2002 แพทย์และผู้วางนโยบายทางสาธารณสุขจึงได้กลับมาสนใจโรคนี้1-3

            ดังนั้นปัญหาของโรคนี้ทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา คือยังไม่สามารถจะควบคุมโรคได้ดีนัก ไม่ว่าจะโดยการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อ สเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปเอในลำคอเพื่อป้องกันการเกิดโรคครั้งแรกหรือการใช้มาตรการทางสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถในการให้ยาปฏิชีวนะอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ

 

อ่านเพิ่มเติม …

  1. โรคคาวาซากิ
  2. โรคหัวใจรูมาติก
  3. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
  4. Practical approach to cyanosis