The Cardiac Children Foundation of Thailand
  • หน้าแรก
  • ความรู้โรคหัวใจในเด็ก
  • ออกหน่วยตรวจฯ
  • เชิญร่วมบริจาค
  • หน้าแรก
  • ประวัติความเป็นมา
  • ความรู้โรคหัวใจในเด็ก
  • โครงการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด
  • คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกหน่วยตรวจฯ
  • การอบรมการคัดกรองโรคหัวใจฯ
  • จดหมายขอบคุณของผู้ปกครองเด็ก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวการรับบริจาค
  • เชิญร่วมบริจาค
  • ดอกกุหลาบ เพื่อเด็กโรคหัวใจ
  • บัตรอวยพรปีใหม่

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2542
สร้างเมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2542
ฮิต: 126782
jarupim.jpgโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
รศ.พญ.จารุพิมพ์ สูงสว่าง



โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ และ/หรือหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยที่ความผิดปกตินั้นๆ ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย พบได้ประมาณ 15% ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ 8 รายต่อทารกแรกเกิดมีชีวิต 1,000 ราย
โดยทั่วๆ ไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเลือดไปปอดน้อย
2. กลุ่มเลือดไปปอดมาก

อ่านเพิ่มเติม …

โรคคาวาซากิ

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2542
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 124064
Vachara.jpgโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
นพ.วัชระ จามจุรีรักษ์



เป็นกลุ่มอาการของโรคที่ประกอบด้วย ไข้สูง, มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุผิว (Mucocutaneous involvement) และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเป็นโรคที่พบในเด็กโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี

โรคนี้ตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดย นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki ที่ประเทศญี่ปุ่น และตั้งชื่อว่า Mucocutaneous Lymph Node Syndrome (MCLS) และต่อมาก็พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรคคาวาซากิ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบครั้งแรก


อ่านเพิ่มเติม …

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 01 มกราคม 2523
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 74416
duangmanee.jpgโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร




    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว(Acyanotic Congenital Heart Diseases) หมายถึง ความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือด และ/หรือหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยทั่วไปตั้งแต่ระยะที่อยู่ในครรภ์มารดา ตั้งแต่อายุ 18 วัน จนถึง 2 เดือน ที่มีการสร้างหัวใจและหลอดเลือด มีบางชนิดเกิดในระยะท้ายกว่านี้ และความผิดปกตินี้ไม่ทำให้เลือดดำ (ที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ) จากหัวใจซีกขวามาผสมกับเลือดแดงในหัวใจซีกซ้าย ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายยังคงเป็นเลือดแดง (ที่มีปริมาณออกซิเจนสูง) จึงไม่มีอาการเขียว ความผิดปกติที่พบอาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรู ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท (รั่ว) หรือเปิดไม่กว้างเท่าปกติ (ตีบ) หรือหลอดเลือดตีบ หรือเกินปกติ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม …

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส – มัจจุราชที่ไร้ความปรานี

รายละเอียด
เผยแพร่เมื่อ: 01 มกราคม 2523
สร้างเมื่อ: 01 มกราคม 2523
ฮิต: 66661
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จุล ทิสยากร 

      เด็กหญิงตุ๊กตา อายุ 11 เดือน ได้รับการเข้าอยู่โรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง      ด้วยอาการหายใจหอบ มารดาของเด็กหญิงตุ๊กตา ให้ประวัติว่า เด็กหญิงตุ๊กตาเป็นเด็กที่แข็งแรงดี และได้รับวัคซีนต่างๆตามที่แพทย์แนะนำ เด็กสบายดีจนกระทั่ง 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล เด็กเริ่ม มีอาการหายใจเร็วและแรง  แต่ไม่มีไข้ การตรวจร่างกายของแพทย์พบว่าอุณหภูมิร่างกาย 36.4oซ  อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วกว่าปกติและเด็กค่อนข้างซึม แพทย์ได้ให้ออกซิเจน    แก่เด็กร่วมกับการฉีดยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล 1 ชั่วโมงเด็กมีอาการเลวลง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าเดิม หายใจลำบากมากขึ้นและมีเสียงดัง และเริ่มไม่ค่อยรู้สึกตัว แพทย์ผู้ดูแลจึงได้ขอย้ายเด็กเข้าโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ   เมื่อเด็กมาถึงห้องไอซียู ของโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ แพทย์พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วกว่าปกติมาก ชีพจรเต้นเบา มือและเท้าเย็น ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและภาพเอ็กซ์เรย์ร่วมกับอาการและการตรวจร่างกาย ทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าเด็กผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งสนับสนุนโดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiography) แพทย์ได้อธิบายให้บิดามารดาของเด็กผู้ป่วยเข้าใจว่าโรคของผู้ป่วยรุนแรงมาก แม้ว่าแพทย์จะให้การรักษาเต็มที่ เด็กผู้ป่วยก็ยังมีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิต  แพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจและต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจพร้อมกับให้ออกซิเจน  แม้ว่าแพทย์จะได้ให้ยาหลายอย่าง เด็กผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการเลวลง และเริ่มมีน้ำเป็นฟองสีชมพูในท่อช่วยหายใจ ซึ่งบ่งบอกว่าเด็กผู้ป่วยกำลังมีภาวะปอดบวมน้ำจากหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวอย่างมาก   แพทย์ได้พยายามช่วยเด็กผู้ป่วยอย่างเต็มที่แต่หัวใจของเด็กผู้ป่วยก็ค่อยๆเต้นช้าลงๆจนกระทั่งหยุดเต้นไปแม้ว่าแพทย์จะได้ให้ยาอีกหลายตัว    รวมเวลาที่เด็กผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯเพียง 2 ชั่วโมง และรวมเวลาตั้งแต่เด็กเริ่มมีอาการของการเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิตไม่ถึงสองวันเต็ม

      ผลการตรวจศพยืนยันว่าแพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง คือเด็กผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อเสียหายไปเกือบหมดจนหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปรับออกซิเจนที่ปอดและไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนเด็กผู้ป่วยเกิดอาการภาวะปอดบวมน้ำและภาวะช็อคจากความล้มเหลวของกล้ามเนื้อหัวใจ


 

อ่านเพิ่มเติม …

  1. โรคหัวใจรูมาติก
  2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  3. Practical approach to cyanosis
  4. Chest pain in children and adolescents